กะเทียม

กระเทียมเป็นพืชที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะคล้ายกับหัวหอม คาดว่ากระเทียมมีต้นกำเนิดจากประเทศไซบีเรียเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum L.1
ชื่อวงศ์           Alliaceae1
ชื่อไทย            กระเทียม1
ชื่ออื่น ๆ          กระเทียมขาว เทียม หัวเทียม หอมเทียม1
ชื่อภาษาอังกฤษ Bulbletus Allii Sativi, Clove of Garlic1

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และพฤกษเคมีที่เกี่ยวข้อง
ไม้ล้มลุก สูง 30-60 ซม. มีกลิ่นแรง หัวใต้ดิน ลักษณะกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4(-7) ซม. มีแผ่นเยื่อสีขาวหรือสีม่วงอมชมพูซึ่งลอกออกได้หุ้มอยู่ 3-4 ชั้น แต่ละหัวมี 6-10(-15) กลีบ กลีบเกิดจากตาซอกใบของใบอ่อน ลำต้นลดรูปลงไปมาก ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงซ้อนสลับ รูปแถบ แบน กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 30-60 ซม. ปลายแหลม โคนแผ่และเชื่อมติดกันเป็นหลอดหุ้มรอบโคนใบของใบที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอกทำให้เกิดเป็นลำต้นเทียม ขอบเรียบ ส่วนค่อนทางปลายใบสีเขียวและสีจะค่อย ๆ จางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ ส่วนที่หุ้มหัวอยู่มีสีขาวหรือสีขาวอมเขียว ช่อดอก แบบช่อซี่ร่ม ก้านช่อดอกแบบก้านโดด ออกตรงกลางระหว่างใบชั้นในสุด รูปทรงกระบอกตัน ยาว (25-)40-60 ซม. มีโคนใบที่เชื่อมต่อกันเป็นหลอดหุ้มก้านช่อดอกไว้ประมาณครึ่งของความยาวก้าน แต่ละช่อประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ หลายดอกอยู่ปะปนกับหัวย่อยรูปไข่ขนาดเล็กจำนวนมาก มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ยาว 7-10(-20) ซม. ลักษณะบางใส แห้งง่าย หุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ แต่เมื่อช่อดอกบานใบประดับจะเปิดอ้าออกด้านหนึ่ง ปลายเป็นจะงอยแหลม และมักห้อยลง ดอก เล็ก สีขาวหรือขาวอมชมพูแกมเขียวถึงสีออกม่วง กลีบรวม 6 กลีบ แยกกันหรือติดกันที่โคน รูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายแหลม กว้างประมาณ 1.4 มิลลิเมตร ยาว 3-6 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 6 อัน อับเรณู และยอดเกสรเพศเมียยาวยื่นพ้นส่วนอื่น ๆ ของดอก รังไข่เหนือวงกลีบ มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1-2 เม็ด ผล แบบผลแห้งแตก ขนาดเล็ก เป็นกระเปาะสั้น ๆ รูปไข่หรือรูปค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ด เล็ก สีดำ หรือผลมักฝ่อไม่มีเมล็ด1 กระเทียมมีสารสำคัญเป็นสารจำพวกน้ำมันหอมระเหย คือ allicin และสารกลุ่ม diallyl disulfide มีกลิ่นฉุน2

การใช้ประโยชน์
สรรพคุณ กระเทียมมีรสร้อน เป็นยาแก้ไข้ ขับปัสสาวะ ขับโลหิตระดู เป็นยาระบาย แก้ไอ แก้ริดสีดวงงอก แก้โรคผิวหนังบางอย่าง เป็นยาขับลมในลำไส้ ขับเนื้อร้าย บำรุงธาตุ ใช้เป็นยาแก้โรคเส้นประสาท ใช้ภายนอกคั้นเอาน้ำจากหัวกระเทียมเป็นยาหยอดหู แก้ปวดหูและหูอื้อ แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ปวดมวนในท้อง แก้เสมหะ แก้ฟกช้ำ แก้สะอึก ขับพยาธิในท้อง แก้โรคในปากในคอ แก้หืด แก้อัมพาต แก้ลมเข้าข้อ แก้ขัดปัสสาวะ บำรุงปอด แก้ปอดพิการ แก้น้ำลายเหนียว บ้วนปากฆ่าเชื้อโรคในปาก1 ปัจจุบันกระเทียมจัดเป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในงานสาธารณสุขมูลฐาน ใช้สำหรับขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารในกรณีมีไขมันในเลือดสูง และช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดตามวัย และใช้เป็นยาใช้ภายนอก แก้กลากเกลื้อน
วิธีรับประทาน ใชกระเทียม 5-7 กลีบ ซอยละเอียด รับประทานหลังอาหาร หรือเวลามีอาการ
ข้อควรระวัง การรับประทานกระเทียมในปริมาณมาก ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกหลังผ่าตัดได้ง่าย หากจะต้องได้รับการผ่าตัดหรือทำฟัน ควรหยุดใช้กระเทียมล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเสียเลือดมาก เนื่องจากเลือดไม่แข็งตัว ควรระมัดระวังการใช้กระเทียมในผู้ที่มีความผิดปรกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือผู้ที่กำลังใช้ยาที่ทำให้เลือดใส (blood thinning medications) เช่น ยากันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant) แอสไพรินหรือยาต้านเกล็ดเลือดอื่น (anti-platelet agents) และยาต้านอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และหากผู้ป่วยรับประทานยาไซโคลสปอริน (cyclosporin) หรือยาซาควินาเวียร์ (saquinavir) อยู่ ไม่ควรกินกระเทียมร่วมด้วย เพราะกระเทียมจะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงยาเหล่านั้นให้หมดฤทธิ์ได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ทำให้ระดับยาในเลือดและประสิทธิผลในการรักษาของยาลดลงจนอาจใช้ยาไม่ได้ผล กระเทียมสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง จึงควรระมัดระวังการใช้กระเทียมทาผิวหนังเด็กและทารก1

งานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยด้านคลินิกระดับ Meta-analysis พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วกระเทียมสดสามารถลด Total cholesterol 15 mg/dl และ LDL-cholesterol 6 mg/dl เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจนเห็นได้ชัด เกิดจากการรับประทานกระเทียมติดต่อกันเป็นเวลา 8 เดือนขึ้นไป เพิ่มระดับ HDL-cholesterol ได้เพียงเล็กน้อยที่ 1.5 mg/dl แต่ไม่สามารถลดระดับ Triglyceride ได้3 ซึ่งการรับประทาน สามารถรับประทานได้ถึง 2,000 mg ซึ่งมีการวิจัยนาน 6 เดือน4 และมีการศึกษาวิจัยในหญิงตั้งครรภ์พบว่าการรับประทานกระเทียม 800 mg ต่อวัน ไม่เกิดอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงแต่อย่างใด อีกทั้งสามารถลดการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้5
งานวิจัยด้านพิษวิทยา มีการวิจัยในหนูทดลอง ขนาดของสาร Allicin ที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีขนาดเท่ากับ 120 mg/kg เมื่อได้รับโดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง และ 60 mg/kg เมื่อได้รับสารสกัดเข้าทางหลอดเลือดดำ และสารสกัดจากกระเทียมมีค่า LD50 > 30 mg/kg เมื่อได้รับผ่านทางช่องท้อง 

 
เอกสารอ้างอิง
1. คณะอนกุรรมการจัดทำตำราอ้างอิงยาสมนุไพร ในคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์
 
    แผนไทย. ตำราอ้างอิงยาสมนุไพร เล่ม ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด,
 
    ๒๕๕๘. ๓๖๐ หน้า.
 
2. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน. [สืบค้นเมื่อ 22
 
     พฤษภาคม 2561]; ออนไลน์: http://www1.si.mahidol.ac.th/km/sites/default/files/82_1.pdf
 
3. Ried K, Toben C, Fakler P. Effect of garlic on serum lipids: an updated meta-analysis. Nutr
 
    Rev 2013; 71:282-99.
 
4. Therapeutic Research Center. Garlic [Internet]. [cite 2018 May 22]; [Update : 2018 May 5]; Available from:  https://naturalmedicines.therapeuticresearch.com/databases/food,-herbs-supplements/professional.aspx?productid=300
 
5. Ziaei S, Hantoshzadeh S, Rezasoltani P, Lamyian M. The effect of garlic tablet on plasma lipids and platelet aggregation in nulliparous pregnants at high risk of preeclampsia. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2001 Dec 1; 99(2):201-6.
 
6. Oi Y, Kawada T, Shishido C, Wada K, Kominato Y, Nishimura S, Ariga T, Iwai K. Allyl-containing sulfides in garlic increase uncoupling protein content in brown adipose tissue, and noradrenaline and adrenaline secretion in rats. J Nutr. 1999; 129(2):336-342.
 

  • Noni_fruit_(Morinda_citrifolia).jpg
    ลูกยอ ยอ จัดเป็นพืชให้ผลที่นิยมนำผลหรือใบมาใช้เป็นอาหาร และยาสมุนไพรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมหลายชนิดชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifoliaL.1 ชื่อวง...

  • ฟ้าทะลายโจร.jpg
    เกริ่นนำฟ้าทะลายมีถิ่นกำเนิดในอินเดียศรีลังกาและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้ ใบและลำต้นอยู่ใต้ดินจะใช้เพื่อให้ยา ฟ้าทะลายมักจะถูกใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ (ไข้หวั...

  • ขมิ้นชัน1.jpg
    ขมิ้นชัน(KHAMIN CHAN) Rhizoma Curcumae Longae Turmeric ขมิ้นชันเป็นเหง้าแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCurcuma longaL.ในวงศ์Zingiberaceae ชื่อพ้องAmomum curcumaJacq.,Curcuma dome...

  • มะระขี้นก.jpg
    มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนิยมบริโภคผลและยอดอ่อน มีรสขม พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบอากาศร้อน ในทางโภชนาการเป็นผักที่มีคุณค่าทาง...

  • กระเจี๊ยบแดง.jpg
    กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรสีแดง รสเปรี้ยวชนิดนี้ นับเป็นหนึ่งในสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในงานสาธารณสุขมูลฐานจึงจัดกระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรประจำบ้านที่ใช้ง่ายและมีค...

  • ใบหม่อน.jpg
    ใบหม่อนชื่อวิทยาศาสตร์Morus albaL..1 ชื่อวงศ์ Moraceae1 ชื่อไทย หม่อน1 ชื่ออื่น ๆ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ2 ชื่อภาษาอังกฤษwhite mulberry, Mulberry tree1ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ล...

  • ว่านห่างจระเข้.jpg
    เกริ่นนำ ว่านหางจระเข้(มักเรียกว่าว่านหางจระเข้) ผลิตสารทั้งสอง เจลและน้ำยางที่ใช้สำหรับยาเสพติดว่านหางจระเข้เจลเป็นสารที่โปร่งใสเช่นเจลาตินที่พบในเยื่อใบพืชว่านหางจระเข้ ว่านหางจร...

  • พรมมิ.jpg
    พรมมิกับฤทธิ์ในการช่วยเพิ่มความจำ พรมมิเป็นสมุนไพรไทยที่หาพบได้ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง ปัจจุบันได้มีการศึกษาค้นคว้าจนพบว่า พรมมิ เป็นสมุนไพรที่สามารถช่วยบำรุงสมอง ป้องโรคความจำเสื่อม อ...

  • ชะพลู.jpg
    ชะพลูเป็นผักพื้นบ้าน คนไทยที่มักนิยมรับประทานสด เช่น การรับประทานทานคู่กับเมี่ยงคำ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพระเทศไทย มีความเชื่อกันอีกว่าใบชะพลูมีสรรพคุณในการแก้พิษหอยได้จึงนิยม...

  • Gymnanthemum_extensum.jpg
    ข้อเท็จจริง หนานเฉาเหว่ย เป็นสมุนไพรที่มีรสขมเย็น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าVernonia amygdalinaDelile วงศ์ Asteraceae พบว่ามีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้านทั่วไปทั้งในทวีปแอฟริกา อเมริกา จี...

  • บัวบก.jpg
    เกริ่นนำ บัวบกเป็นที่นิยมใช้ในการแพทย์แผนจีนและโรงงานยาอายุรเวท ใช้ในการทำยาบัวบกใช้ในการรักษาไวรัสแบคทีเรียหรือพยาธิติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโรคงูสวัด โรคเรื้อน อหิว...

  • มะขามป้อม.jpg
    มะขามป้อม(MAKHAM POM) Fructus Phyllanthi Emblicae Emblic Myrobalan มะขามป้อมเป็นผลแก่จัดและแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPhyllanthus emblicaL. ในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่อพ้อง Em...
Visitors: 53,999