ลูกยอ

ลูกยอ

ยอ จัดเป็นพืชให้ผลที่นิยมนำผลหรือใบมาใช้เป็นอาหาร และยาสมุนไพรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมหลายชนิด

ชื่อวิทยาศาสตร์
 Morinda citrifolia L.1

ชื่อวงศ์           Rubiaceae1

ชื่อไทย            ยอ1

ชื่ออื่น ๆ          แยใหญ่, มะตาเสือ1

ชื่อภาษาอังกฤษ Noni2

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้ยืนต้น กิ่งหรือแขนงเป็นสี่เหลี่ยม เปลือกต้นเรียบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามและตั้งฉากกับใบคู่ถัดไป ใบรูปรีกว้าง โคนใบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน แผ่นใบหยักเป็นคลื่น หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบทั้งสองข้าง ดอกช่อกระจุกกลม ก้านช่อดอกยาว มีกลิ่นหอม ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอกสีขาว ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก ม้วนลง เกสรเพศผู้ 5-6 อัน ติดกับผนังด้านในหลอดกลีบดอก ก้านชูเกสรสั้น เกสรเพศเมีย รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผนังรังไข่เชื่อมติดกัน ยอดเกสรแยก 2 แฉก ผลเป็นผลรวม เนื้อผลย่อยเชื่อมรวมกันแน่นจนเป็นผลใหญ่ผลเดียว ผิวเกลี้ยง สีเขียว ผลสุกสีขาวแกมสีเขียว เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีหลายเมล็ด เมื่อสุกจะรสเผ็ดร้อน ฉุน1

การใช้ประโยชน์

สรรพคุณตามยาไทย ใบแก้ปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า แก้ไข้ แก้ปวดบวม อักเสบ แก้ไอ,  ผลขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน ฟอกเลือด ขับน้ำคาวปลา1 วิธีรับประทาน ตำราแพทย์แผนโบราณกล่าวว่า ใช้ผลยอหั่นปิ้งไฟพอเหลืองกรอบ ต้มเอาน้ำเป็นกระสายยาใช้ร่วมกับยาอื่น แก้คลื่นไส้อาเจียนได้ผล ในการทดลองพบว่า ผลยอไม่มีพิษเฉียบพลันและใช้เป็นอาหาร จึงใช้เป็นยาแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่ไม่รุนแรงได้ โดยเลือกเอาผลดิบหรือผลห่ามสด ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ต้มหรือชงน้ำดื่ม ใช้ครั้งละประมาณ 2 กำมือ(11–15 กรัม) เอาน้ำที่ได้จิบทีละน้อยแต่บ่อยๆ ครั้ง จะได้ผลดีกว่าดื่มทีเดียว3 นอกจากนี้ ยอเป็นพืชสมุนไพรที่ถูกระบุให้เป็นพืชที่มีการใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อใช้แก้อาเจียน ขับลมด้วย3

การศึกษาทางพฤกษเคมี  พบว่า ผลยอประกอบไปด้วย สารกลุ่มฟีนอลิค แอนทราควิโนนส์ เทอร์พีนอยด์อัลคาลอยด์ และโปรตีน สารสำคัญที่พบมาก ได้แก่ scopoletin, octanoic acid, potassium, vitamin C, β-D-glucopyranose pentaacetate, 2,6-di-O-(β -D-glucopyranosyl-1-Ooctanoyl-β -D-glucopyranose, 6-O-(β -D-glucopyranosyl-1-O-octanoyl- β -D-glucopyranose, Ascorbic acid, Asperulosidic acid, Caproic acid และ Caprylic acid4 เป็นต้น

งานวิจัยทางด้านพิษวิทยาและการศึกษาทางคลินิก

          การศึกษาด้านพิษวิทยา

          การฉีดสารสกัดด้วยเอทานอล:น้ำ อัตราส่วน 1:1 จากส่วนเหนือดินของต้นยอ และสารสกัดเมทานอล:น้ำ อัตราส่วน 1:1 จากผล  เข้าช่องท้องหนูเม้าส์ พบว่ามีความเป็นพิษปานกลางและไม่พบความเป็นพิษเมื่อป้อนหรือฉีดสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 50 จากผล เข้าใต้ผิวหนังหนูเม้าส์

การทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังในหนูแรทโดยป้อนสารสกัดจากผลยอ ไม่พบความผิดปกติใดๆ ในค่าตรวจทางชีวเคมีในเลือด และค่าตรวจทางโลหิตวิทยา นอกจากนี้การทดสอบความเป็นพิษโดยใช้สารสกัดด้วยน้ำจากผลยอแห้ง ก็ไม่พบความเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง5

Case report เกี่ยวกับไต

มีรายงานเกี่ยวกับภาวะโพแทสเซียมสูง (serum potassium 5.8 mEq./L) ในผู้ป่วยโรคไตที่ดื่มน้ำลูกยอครั้งละ 1 shot หลังอาหาร ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมสูงแล้ว ยังทำให้ blood urea nitrogen และ serum creatinine สูงขึ้นอีกด้วย6  

 

 

ข้อพิจารณา

จากการที่ สมาคมโรคไตฯ เตือนผู้ป่วยโรคไตให้ระมัดระวังสมุนไพรหลายชนิด ซึ่งในที่นี้มีการกล่าวถึง ลูกยอ จากการสืบค้นข้อมูลด้านโภชนาการ น้ำลูกยอ (Noni juice) มีปริมาณโพแทสเซียมมากถึง 2,195.7 มิลลิกรัม (56 mmol/L)5,6 ซึ่งถือว่ามีปริมาณโพแทสเซียมที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูงเช่นเดียวกันกับกล้วย (358 มก.) และส้ม (181 มก.) หากผู้ป่วยมีข้อจำกัดในเรื่องของการขับโพแทสเซียม เช่น ผู้ป่วยโรคไต หรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางสมดุลอิเล็คโทรไลต์ในร่างกาย (electrolyte imbalance) ควรหลีกเลี่ยง) เพราะจะทำให้ไตต้องทำงานหนักในการขับแร่ธาตุ แต่สำหรับประชาชนที่ไม่มีความผิดปรกติของร่างกายสามารถทานได้ตามปกติ นอกจากนี้ เนื่องจากลูกยอมีรสเผ็ดร้อน ดังนั้น สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้


เอกสารอ้างอิง

1. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. เครื่องยาสมุนไพรไทย(Thai Herbal Drug). พิมพ์ครั้งที่ 2กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร, 2555. 191 หน้า

2. Therapeutic Research Center. Noni. [cited: 2018/Aug/27]; 
available at: 
https://naturalmedicines.therapeuticresearch.com/databases/food,-herbs-supplements/professional.aspx?productid=758

3. คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน. [cited: 2018/Aug/27]; 
available at: 
http://www1.si.mahidol.ac.th/km/sites/default/files/82_1.pdf

4. คลังความรู้สู่ประชาชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ผักผลไม้...ที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. [cited: 2018/Aug/27]; 
available at: 
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/141/ผักผลไม้ที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/

5. Mueller BA, Scott MK, Sowinski KM, Prag KA. Noni juice (Morinda citrifolia): hidden potential for hyperkalemia?. Am J Kidney Dis 2000; 35: 310-2.


  • ฟ้าทะลายโจร.jpg
    เกริ่นนำฟ้าทะลายมีถิ่นกำเนิดในอินเดียศรีลังกาและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้ ใบและลำต้นอยู่ใต้ดินจะใช้เพื่อให้ยา ฟ้าทะลายมักจะถูกใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ (ไข้หวั...

  • ขมิ้นชัน1.jpg
    ขมิ้นชัน(KHAMIN CHAN) Rhizoma Curcumae Longae Turmeric ขมิ้นชันเป็นเหง้าแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCurcuma longaL.ในวงศ์Zingiberaceae ชื่อพ้องAmomum curcumaJacq.,Curcuma dome...

  • มะระขี้นก.jpg
    มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนิยมบริโภคผลและยอดอ่อน มีรสขม พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบอากาศร้อน ในทางโภชนาการเป็นผักที่มีคุณค่าทาง...

  • กระเจี๊ยบแดง.jpg
    กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรสีแดง รสเปรี้ยวชนิดนี้ นับเป็นหนึ่งในสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในงานสาธารณสุขมูลฐานจึงจัดกระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรประจำบ้านที่ใช้ง่ายและมีค...

  • ใบหม่อน.jpg
    ใบหม่อนชื่อวิทยาศาสตร์Morus albaL..1 ชื่อวงศ์ Moraceae1 ชื่อไทย หม่อน1 ชื่ออื่น ๆ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ2 ชื่อภาษาอังกฤษwhite mulberry, Mulberry tree1ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ล...

  • ว่านห่างจระเข้.jpg
    เกริ่นนำ ว่านหางจระเข้(มักเรียกว่าว่านหางจระเข้) ผลิตสารทั้งสอง เจลและน้ำยางที่ใช้สำหรับยาเสพติดว่านหางจระเข้เจลเป็นสารที่โปร่งใสเช่นเจลาตินที่พบในเยื่อใบพืชว่านหางจระเข้ ว่านหางจร...

  • พรมมิ.jpg
    พรมมิกับฤทธิ์ในการช่วยเพิ่มความจำ พรมมิเป็นสมุนไพรไทยที่หาพบได้ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง ปัจจุบันได้มีการศึกษาค้นคว้าจนพบว่า พรมมิ เป็นสมุนไพรที่สามารถช่วยบำรุงสมอง ป้องโรคความจำเสื่อม อ...

  • ชะพลู.jpg
    ชะพลูเป็นผักพื้นบ้าน คนไทยที่มักนิยมรับประทานสด เช่น การรับประทานทานคู่กับเมี่ยงคำ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพระเทศไทย มีความเชื่อกันอีกว่าใบชะพลูมีสรรพคุณในการแก้พิษหอยได้จึงนิยม...

  • กระเทียม.jpg
    กระเทียมเป็นพืชที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะคล้ายกับหัวหอม คาดว่ากระเทียมมีต้นกำเนิดจากประเทศไซบีเรียเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativumL.1 ชื่อวงศ์ Alliace...

  • Gymnanthemum_extensum.jpg
    ข้อเท็จจริง หนานเฉาเหว่ย เป็นสมุนไพรที่มีรสขมเย็น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าVernonia amygdalinaDelile วงศ์ Asteraceae พบว่ามีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้านทั่วไปทั้งในทวีปแอฟริกา อเมริกา จี...

  • บัวบก.jpg
    เกริ่นนำ บัวบกเป็นที่นิยมใช้ในการแพทย์แผนจีนและโรงงานยาอายุรเวท ใช้ในการทำยาบัวบกใช้ในการรักษาไวรัสแบคทีเรียหรือพยาธิติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโรคงูสวัด โรคเรื้อน อหิว...

  • มะขามป้อม.jpg
    มะขามป้อม(MAKHAM POM) Fructus Phyllanthi Emblicae Emblic Myrobalan มะขามป้อมเป็นผลแก่จัดและแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPhyllanthus emblicaL. ในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่อพ้อง Em...
Visitors: 54,416