ใบหม่อน

ใบหม่อน

ชื่อวิทยาศาสตร์
 Morus alba L..1

ชื่อวงศ์           Moraceae1

ชื่อไทย            หม่อน1

ชื่ออื่น ๆ          มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ2

ชื่อภาษาอังกฤษ white mulberry, Mulberry tree1

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีหลายพันธุ์ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู กว้าง 8-14 ซม. ยาว 12-16 ซม. ผิวใบสากคาย ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบรวมสีขาวหม่นหรือสีขาวแกมเขียว ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก เมื่อสุกสีม่วงแดง1

การใช้ประโยชน์

 ตำราสมุนไพรจีน กล่าวถึงสรรพคุณของหม่อนไว้อย่างมากมาย เช่น “ยอดหม่อน” นำมาต้มใช้ดื่มและล้างตา เพื่อบำรุงสายตา นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบว่า “ใบหม่อน” สามารถลดปริมาณคอเลสเตอรอลในกระต่าย ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตและลดอัตราการตายของหนูที่มีสาเหตุจากมะเร็งในตับได้ “กิ่งหม่อน” ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก รักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง กลิ่นฉุนเกิดจากความร้อนภายใน ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ขจัดความร้อนในปอดและกระเพาะอาหาร ขจัดการหมักหมมในกระเพาะอาหารและเสมหะในปอด นอกจากนั้นยังใช้รักษาอาการปวดมือ เท้าเป็นตะคริว เหน็บชา โดยใช้กิ่งหม่อนและโคนต้นหม่อนเก่า ๆ มาตัดเป็นท่อน ผึ่งไว้ให้แห้ง เป็นต้น

 ตำราสรรพคุณยาไทย กล่าวว่าหม่อน ใช้แก้ไข้ แก้ไอ ระงับประสาท ใบ มีรสจืดเย็น ต้มดื่มแก้ไข้ ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง ตาแฉะ และฝ้าฟาง ผล รสเปรี้ยวหวานเย็น ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต ดับร้อน3


งานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้อง

 มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับใบหม่อนในฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด งานวิจัยของต่างประเทศพบว่าการรับประทานใบหม่อนวันละ 1 กรัม ในรูปผงแห้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ 27% เปรียบเทียบกับการรับประทานยา glyburide 5 mg วันละครั้ง ซึ่งลดได้แค่ 8% (แต่ไม่ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่า HbA1C ในช่วง 4 สัปดาห์)4

 

การที่ใบหม่อนมีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจาก หม่อนมีสารสำคัญที่ชื่อ “Fagomine” ซึ่งสามารถกระตุ้นการหลั่งของ Insulin นอกจากนี้สารสำคัญจากใบและรากของหม่อนยังสามารถขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ α-glucosidase ซึ่งทำหน้าที่ในการย่อยคาร์โบไฮเดรต เมื่อเอนไซม์ถูกขัดขวาง กระบวนการย่อยแป้งให้ได้กลูโคสจะช้าลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารลดลง4

 

นอกจากนี้ การศึกษาประสิทธิผลการใช้สารสกัดใบหม่อน โดยเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รับประทาน สารสกัดใบหม่อน 125, 250, 500 มก. พบว่าสารสกัดใบหม่อนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากรับประทาน maltodextrin มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และปัจจุบันมีการศึกษาสารสกัด mulberry ซึ่งมีแนวโน้มที่จะใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้5

 

มีการศึกษาในหนูทดลองอายุ 8 สัปดาห์ เพื่อศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรัง  โดยให้หนูทดลองรับประทานผลหม่อน ซึ่งผลกรศึกษา พบว่า ไม่เกิดพิษ ทั้งในแบบความเป็นพิษเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรัง6

 

เอกสารอ้างอิง

 

1. นันทวัน บุณยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร. สมุนไพร ไม้พื้นบ้าน เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด, 2543. 508 หน้า

 2. เมดไทย. หม่อน. 2014 [สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2561]; ออนไลน์: https://medthai.com/หม่อน/

 3. กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์เลือก. ประมวลสรรพคุณสมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร , 2558. 292 หน้า

 4. Therapeutic Research Center. White Mulberry [Internet]. [cite 2018 May 24]; [Update : 2015 Dec 27]; Available from: https://naturalmedicines.therapeuticresearch.com/databases/food,-herbs-supplements/professional.aspx?productid=1250

 5. Lown M, Fuller R, Lightowler H, Fraser A, Gallagher A, Stuart B, Byrne C, Lewith G. Mulberry-extract improves glucose tolerance and decreases insulin concentrations in normoglycaemic adults: Results of a randomised double-blind placebo-controlled study. Plos one. 2017; 22(2):1-14

6. Wattanathorn J, Thukummee W, Thipkaew W, Wannanond P, Tong-Un T, Muchimapura S, Kaewrueng W. Acute and Subchronic Toxicity of Mulberry Fruits. American Journal of Agricultural and Biological Sciences, 2012; 7 (3):378-83.

 

  • Noni_fruit_(Morinda_citrifolia).jpg
    ลูกยอ ยอ จัดเป็นพืชให้ผลที่นิยมนำผลหรือใบมาใช้เป็นอาหาร และยาสมุนไพรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมหลายชนิดชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifoliaL.1 ชื่อวง...

  • ฟ้าทะลายโจร.jpg
    เกริ่นนำฟ้าทะลายมีถิ่นกำเนิดในอินเดียศรีลังกาและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้ ใบและลำต้นอยู่ใต้ดินจะใช้เพื่อให้ยา ฟ้าทะลายมักจะถูกใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ (ไข้หวั...

  • ขมิ้นชัน1.jpg
    ขมิ้นชัน(KHAMIN CHAN) Rhizoma Curcumae Longae Turmeric ขมิ้นชันเป็นเหง้าแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCurcuma longaL.ในวงศ์Zingiberaceae ชื่อพ้องAmomum curcumaJacq.,Curcuma dome...

  • มะระขี้นก.jpg
    มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนิยมบริโภคผลและยอดอ่อน มีรสขม พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบอากาศร้อน ในทางโภชนาการเป็นผักที่มีคุณค่าทาง...

  • กระเจี๊ยบแดง.jpg
    กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรสีแดง รสเปรี้ยวชนิดนี้ นับเป็นหนึ่งในสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในงานสาธารณสุขมูลฐานจึงจัดกระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรประจำบ้านที่ใช้ง่ายและมีค...

  • ว่านห่างจระเข้.jpg
    เกริ่นนำ ว่านหางจระเข้(มักเรียกว่าว่านหางจระเข้) ผลิตสารทั้งสอง เจลและน้ำยางที่ใช้สำหรับยาเสพติดว่านหางจระเข้เจลเป็นสารที่โปร่งใสเช่นเจลาตินที่พบในเยื่อใบพืชว่านหางจระเข้ ว่านหางจร...

  • พรมมิ.jpg
    พรมมิกับฤทธิ์ในการช่วยเพิ่มความจำ พรมมิเป็นสมุนไพรไทยที่หาพบได้ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง ปัจจุบันได้มีการศึกษาค้นคว้าจนพบว่า พรมมิ เป็นสมุนไพรที่สามารถช่วยบำรุงสมอง ป้องโรคความจำเสื่อม อ...

  • ชะพลู.jpg
    ชะพลูเป็นผักพื้นบ้าน คนไทยที่มักนิยมรับประทานสด เช่น การรับประทานทานคู่กับเมี่ยงคำ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพระเทศไทย มีความเชื่อกันอีกว่าใบชะพลูมีสรรพคุณในการแก้พิษหอยได้จึงนิยม...

  • กระเทียม.jpg
    กระเทียมเป็นพืชที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะคล้ายกับหัวหอม คาดว่ากระเทียมมีต้นกำเนิดจากประเทศไซบีเรียเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativumL.1 ชื่อวงศ์ Alliace...

  • Gymnanthemum_extensum.jpg
    ข้อเท็จจริง หนานเฉาเหว่ย เป็นสมุนไพรที่มีรสขมเย็น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าVernonia amygdalinaDelile วงศ์ Asteraceae พบว่ามีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้านทั่วไปทั้งในทวีปแอฟริกา อเมริกา จี...

  • บัวบก.jpg
    เกริ่นนำ บัวบกเป็นที่นิยมใช้ในการแพทย์แผนจีนและโรงงานยาอายุรเวท ใช้ในการทำยาบัวบกใช้ในการรักษาไวรัสแบคทีเรียหรือพยาธิติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโรคงูสวัด โรคเรื้อน อหิว...

  • มะขามป้อม.jpg
    มะขามป้อม(MAKHAM POM) Fructus Phyllanthi Emblicae Emblic Myrobalan มะขามป้อมเป็นผลแก่จัดและแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPhyllanthus emblicaL. ในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่อพ้อง Em...
Visitors: 54,416