หนานเฉาเหว่ย

ข้อเท็จจริง
หนานเฉาเหว่ย  เป็นสมุนไพรที่มีรสขมเย็น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Vernonia amygdalina Delile วงศ์ Asteraceae พบว่ามีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้านทั่วไปทั้งในทวีปแอฟริกา อเมริกา จีน และทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยใช้รักษาโรคได้หลากหลาย การแพทย์พื้นบ้านภาคเหนือ ใช้เข้าตำรับยารักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคขาง โรคสาน (โรคที่มีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย) และใช้แก้พิษ เชื่อกันว่าเป็นสมุนไพรที่ทำให้คนเสียชีวิตจากโรคเรื้อรังลดลง จนเป็นที่มาของชื่อ “ป่าช้าเหงา” หรือ “ป่าช้าหมอง” หรือภาษาเหนือเรียก “ป่าเฮ่วหมอง” สำหรับการรับประทานป่าช้าหมองที่หมอพื้นบ้านแนะนำเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และในผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงคือ ใบสด (ขนาดใหญ่) ให้รับประทานครั้งละ 1 ใบ รับประทานบ้างหยุดบ้าง เช่น วันเว้นวัน หรือ 2-3 วัน/ครั้ง ติดต่อไม่เกิน 1 เดือน นอกจากนี้ในทางการแพทย์พื้นบ้านของประเทศทางทวีปแอฟริกา ใช้รักษาโรคมาลาเรีย อาการปวดท้อง โรคพยาธิ ต้านชัก สมานแผล คุมกำเนิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น (Ifeoluwa T.Oyeyemi et.at, 2018)
ในประเทศไทยมีความนิยมกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นหลังจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าเป็นสมุนไพรอายุวัฒนะ ที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาล ความดัน และไขมันในเลือดได้ โดยได้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย ซึ่งในต่างประเทศก็พบว่ามีผลิตภัณฑ์จากหนานเฉาเหว่ยจำหน่ายเช่นกัน โดยแนะนำให้รับประทานในขนาด 750 -1,200มก./วัน 
(https://www.amazon.com/Bitter-Capsule-Vernonia-AMYGDALINA-Capsules/dp/B07DRQG93N)

ข้อกฎหมาย/หลักวิชาการ
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  
1. การศึกษาทางพฤกษเคมี พบว่า ต้นหนานเฉาเหว่ย ประกอบด้วยสารที่เป็น secondary metabolite หลายชนิด ได้แก่ Sesquiterpene lactones, สารกลุ่ม Flavonoids, Steroid Glucosides, Steroid, และ saponins ซึ่งพบฤทธิ์ในระดับหลอดทดลอง ได้แก่ antioxidant, anticancer, antimicrobial, antitumoral, antiplasmodial, antischistosomal และ anti-inflammatory (Ifeoluwa T.Oyeyemi et.al, 2018)
2. การศึกษาทางคลินิกและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
  งานวิจัยของ Yeap, S.K. และคณะ ทำการศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูแรททั้งเพศเมียและเพศผู้จำนวน 56 ตัว ผลการศึกษา พบว่า สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยไม่เกิดภาวะระดับ น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) โดยเชื่อว่ากลไกการลดระดับน้ำตาลในเลือดอาจเกิดจาก สาร secondary metaboliteในกลุ่ม Sesquiterpene lactones ซึ่งมีผลกระตุ้นอินซูลินให้ทำงานดีขึ้น (insulin sensitization) (Yeap, S.K. et.al, 2013)
3. การทดสอบความเป็นพิษ
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน เมื่อให้สารสกัดน้ำจากใบหนานเฉาเว่ยขนาด 5,000 มก./กก. เป็นเวลา 14 วัน พบว่าไม่เกิดความเป็นพิษต่อระดับเลือดและเคมีในเลือดและไม่ทำให้เกิดการตายอย่าง เฉียบพลันของหนูทดลอง (Yeap, S.K. et.al, 2013)

ข้อพิจารณา
จากหนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์ฉลามเขียว ที่มีการกล่าวถึงในเรื่องของการรับประทานหนานเฉาเหว่ย 
โดยรับประทานในรูปแบบเป็นแคปซูล 2-3 วัน/ครั้ง หรือใบสดต้มน้ำ โดยเริ่มรับประทานมาประมาณ 1 เดือน พบว่านอกจากระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดแล้ว ยังทำให้ค่าการทำงานของตับมีค่าเพิ่มขึ้นจากค่าปกติค่อนข้างสูง

 เมื่อพิจารณาแล้ว เบื้องต้นคาดว่าผู้ป่วยน่าจะมีโรคประจำตัวหลายโรค (underlying disease) ซึ่งการบริโภคสมุนไพรในรูปแบบสมุนไพรเสริม ไม่ควรทำโดยพลการ ควรมีการปรึกษาแพทย์ เภสัชกรก่อนรับประทาน เนื่องจากสมุนไพรสามารถทำให้เกิดการแพ้ในผู้ป่วยบางรายที่ที่ไม่เคยใช้สมุนไพรชนิดนั้นมาก่อน หรืออาจทำให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพร (Drug interaction) กับแผนปัจจุบัน เช่น อาจไปเสริมฤทธิ์กับยารักษาโรคเบาหวาน จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมากจนเป็นอันตราย หรือเสริมฤทธิ์กับยาอื่นๆ จนมีผลต่อการทำงานของตับและไตได้ และนอกจากนี้ เนื่องจากยังไม่เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรชนิดนี้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไตบกพร่องมาก่อน ดังนั้น ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะตับ หรือไตทำงานบกพร่อง
 

  • Noni_fruit_(Morinda_citrifolia).jpg
    ลูกยอ ยอ จัดเป็นพืชให้ผลที่นิยมนำผลหรือใบมาใช้เป็นอาหาร และยาสมุนไพรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมหลายชนิดชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifoliaL.1 ชื่อวง...

  • ฟ้าทะลายโจร.jpg
    เกริ่นนำฟ้าทะลายมีถิ่นกำเนิดในอินเดียศรีลังกาและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้ ใบและลำต้นอยู่ใต้ดินจะใช้เพื่อให้ยา ฟ้าทะลายมักจะถูกใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ (ไข้หวั...

  • ขมิ้นชัน1.jpg
    ขมิ้นชัน(KHAMIN CHAN) Rhizoma Curcumae Longae Turmeric ขมิ้นชันเป็นเหง้าแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCurcuma longaL.ในวงศ์Zingiberaceae ชื่อพ้องAmomum curcumaJacq.,Curcuma dome...

  • มะระขี้นก.jpg
    มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนิยมบริโภคผลและยอดอ่อน มีรสขม พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบอากาศร้อน ในทางโภชนาการเป็นผักที่มีคุณค่าทาง...

  • กระเจี๊ยบแดง.jpg
    กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรสีแดง รสเปรี้ยวชนิดนี้ นับเป็นหนึ่งในสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในงานสาธารณสุขมูลฐานจึงจัดกระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรประจำบ้านที่ใช้ง่ายและมีค...

  • ใบหม่อน.jpg
    ใบหม่อนชื่อวิทยาศาสตร์Morus albaL..1 ชื่อวงศ์ Moraceae1 ชื่อไทย หม่อน1 ชื่ออื่น ๆ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ2 ชื่อภาษาอังกฤษwhite mulberry, Mulberry tree1ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ล...

  • ว่านห่างจระเข้.jpg
    เกริ่นนำ ว่านหางจระเข้(มักเรียกว่าว่านหางจระเข้) ผลิตสารทั้งสอง เจลและน้ำยางที่ใช้สำหรับยาเสพติดว่านหางจระเข้เจลเป็นสารที่โปร่งใสเช่นเจลาตินที่พบในเยื่อใบพืชว่านหางจระเข้ ว่านหางจร...

  • พรมมิ.jpg
    พรมมิกับฤทธิ์ในการช่วยเพิ่มความจำ พรมมิเป็นสมุนไพรไทยที่หาพบได้ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง ปัจจุบันได้มีการศึกษาค้นคว้าจนพบว่า พรมมิ เป็นสมุนไพรที่สามารถช่วยบำรุงสมอง ป้องโรคความจำเสื่อม อ...

  • ชะพลู.jpg
    ชะพลูเป็นผักพื้นบ้าน คนไทยที่มักนิยมรับประทานสด เช่น การรับประทานทานคู่กับเมี่ยงคำ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพระเทศไทย มีความเชื่อกันอีกว่าใบชะพลูมีสรรพคุณในการแก้พิษหอยได้จึงนิยม...

  • กระเทียม.jpg
    กระเทียมเป็นพืชที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะคล้ายกับหัวหอม คาดว่ากระเทียมมีต้นกำเนิดจากประเทศไซบีเรียเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativumL.1 ชื่อวงศ์ Alliace...

  • บัวบก.jpg
    เกริ่นนำ บัวบกเป็นที่นิยมใช้ในการแพทย์แผนจีนและโรงงานยาอายุรเวท ใช้ในการทำยาบัวบกใช้ในการรักษาไวรัสแบคทีเรียหรือพยาธิติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโรคงูสวัด โรคเรื้อน อหิว...

  • มะขามป้อม.jpg
    มะขามป้อม(MAKHAM POM) Fructus Phyllanthi Emblicae Emblic Myrobalan มะขามป้อมเป็นผลแก่จัดและแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPhyllanthus emblicaL. ในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่อพ้อง Em...
Visitors: 54,416