มะระขี้นก

มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนิยมบริโภคผลและยอดอ่อน มีรสขม พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบอากาศร้อน ในทางโภชนาการเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามิน แร่ธาตุและสารอาหารอีกหลายชนิดด้วยกัน

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia L.1

ชื่อวงศ์           Cucurbitaceae1

ชื่อไทย            มะระขี้นก1

ชื่ออื่น ๆ          มะไหมะหอย (ภาคเหนือ), มะรอยรู (ภาคใต)1

ชื่อภาษาอังกฤษ balsam apple, balsam pear, bitter cucumber, bitter melon, leprosy gourd1

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และพฤกษเคมีที่เกี่ยวข้อง

          ไมเถา มีขน มักมีมือพันอยูบริเวณขอตรงขามใบ ใบ เปนใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปฝามือที่มีแฉกหยักลึก 5–7 แฉก กวาง 5-9 ซม. ยาว 5–8 ซม. ปลายแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบหยักซี่ฟน มีขน เสนโคนใบ 3–5 เสน   เสนแขนงใบขางละ 3–4 เสน  ดอก เป็นดอกเดี่ยวแยกเพศรวมต้น กลีบเลี้ยงสีเขียวแกมสีเหลือง โคนติดกันเป็นรูประฆัง ปลายหยัก 5 แฉก รูปไขแกมรูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกสีเหลือง อมสีสม โคนติดกันเล็กนอย ปลายแยกเปน 5 กลีบ รูปไขกลับแกมรูปขอบขนาน กวางประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกเพศผูมีเกสรเพศผู 3 อัน กานชูอับเรณูสั้นติดที่ปากหลอดดอก ดอกเพศเมียมีรังไขใตวงกลีบ มี 3 ชอง แตละชองมีออวุลจำนวนมาก กานเกสรเพศเมียเรียวยาว เปนตุมเล็กหรือแยก 2 แฉก อาจมีเกสรเพศผูที่เปนหมัน ผล แบบผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปรีหรือรูปกระสวย กวาง 1.5-3 ซม. ยาว 5- 8 ซม. ปลายเรียวแหลม มีสันตามความยาวผล และมีตุมนูนจำนวนมาก สุกสีสม เมล็ด แบน รูปขอบขนานแกมรูปไขกวาง 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1 ซม. เยื่อหุมเมล็ดสีแดงอมสม1 การที่มะระขี้นกมีรสขมจัด เนื่องจากมีสารสำคัญเป็นสารกลุ่ม alkaloids

 

การใช้ประโยชน์

สรรพคุณตามยาไทย กล่าวว่าผลอ่อนมะระขี้นก มีรสขมจัด สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี แก้โรคของม้ามและตับ โรคลมเข้าข้อ น้ำตมแก้ไข้ น้ำคั้นแกปากเปอยเปนขุย และบำรุงโลหิตระดูสตรี และตำรายาไทยใช้ใบมะระในตำรับยาเขียว สรรพคุณ ลดไข้ รากใช้ในตำรับยาแก้โลหิตเป็นพิษ และโรคตับ1

มะระขี้นกจัดเป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาอยู่ในบัญชียาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในกลุ่มยาพัฒนาจากสมุนไพร เพื่อใช้ในอาการแก้ไข้ แก้ร้อนใน

ยามะระขี้นก

ข้อบ่งใช้ แก้ร้อนใน แก้ไข้ เจริญอาหาร

วิธีรับประทาน

ชนิดชง รับประทานครั้งละ 1-2 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120-200 มล. วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ชนิดแคปซูล รับประทานครั้งละ 500-1,000 มก. วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในเด็กหรือในหญิงให้นมบุตร เนื่องจากมีรายงานว่าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมากจนเกิดอาการชักในเด็กได้

ข้อควรระวัง

 

 

1. ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้

 

2. ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน (Oral Hypoglycemic Agents) อื่นๆ หรือร่วมกับการฉีด Insulin เพราะอาจทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์กันได้และควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ เพราะเคยมีรายงานว่าทำให้การเกิดตับอักเสบได้2


งานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้อง

 

มีการศึกษาในสัตว์ทดลอง โดยให้สารสกัดจากมะระขี้นกด้วยแอลกอฮอล์ ในขนาด 500 มก./กก. ทางปากในหนูปกติ พบว่า สามารถลดระดับกลูโคสในเลือดได้ร้อยละ 10-16 และร้อยละ 6 ภายใน 1 ชม. และ 2 ชม. ตามลำดับ และร้อยละ 26 ในหนูที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานจากด้วย streptozotocin และนอกจากนี้ พบว่า สารสกัดได้เพิ่มปริมาณการสังเคราะห์ glycogen จาก 14C- glucose ในตับของหนูปกติ 4-5 เท่า แสดงให้เห็นว่า สารสกัดมีส่วนในการเร่งการใช้ glucose ในตับ ในหนูปกติ และในหนูที่เป็นโรคเบาหวานสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 50 หลังจากการฉีดสารสกัด 5 ชม. โดยไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ insulin ในเลือด แสดงให้เห็นว่าสารสกัดมะระขี้นกส่งเสริมให้มีการขับน้ำตาลกลูโคสออกนอกตับ นอกจากนี้เมื่อให้ทางปากในขนาด 0.5 ก./กก. พบว่า สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งในหนูที่เป็นโรคเบาหวานและหนูปกติ3 นอกจากนี้งานวิจัยสนับสนุนการใช้สารสกัดมะระขี้นกในคน พบว่า มะระขี้นกมีสารประกอบที่มีโครงสร้างคล้าย Insulin เรียกว่า P-Insulin ซึ่งมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายคลึงกับ Insulin โดยสามารถออกฤทธิ์ภายใน 30-60 นาที เมื่อให้ทางปาก และให้ผลสูงสุดที่ระยะเวลา 4 ชั่วโมง4

 

เอกสารอ้างอิง

    1. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือการกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสมุนไพร เพื่อใช้ในทางเภสัชกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพองคการสงเคราะหทหารผานศึก ในพระบรมราชูปถัมภกรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๘. ๓๐๔ หน้า

     2. กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักยา. คู่มือสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ. [สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2561]; ออนไลน์: http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/herbal/list

     3. คลังความรู้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. มะระขี้นก. [สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2561]; ออนไลน์: http://ttdkl.dtam.moph.go.th/Module1/frmc_show_plant.aspx?h_id=Mzk2NA==

 

    4. Baldwa VS, Bhandari CM, Pangaria A, Goyal RK. Clinical trial in patients with diabetes mellitus of an insulin-like compound obtained from plant sources. Ups J Med Sci 1977; 82:39-41.


  • Noni_fruit_(Morinda_citrifolia).jpg
    ลูกยอ ยอ จัดเป็นพืชให้ผลที่นิยมนำผลหรือใบมาใช้เป็นอาหาร และยาสมุนไพรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมหลายชนิดชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifoliaL.1 ชื่อวง...

  • ฟ้าทะลายโจร.jpg
    เกริ่นนำฟ้าทะลายมีถิ่นกำเนิดในอินเดียศรีลังกาและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้ ใบและลำต้นอยู่ใต้ดินจะใช้เพื่อให้ยา ฟ้าทะลายมักจะถูกใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ (ไข้หวั...

  • ขมิ้นชัน1.jpg
    ขมิ้นชัน(KHAMIN CHAN) Rhizoma Curcumae Longae Turmeric ขมิ้นชันเป็นเหง้าแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCurcuma longaL.ในวงศ์Zingiberaceae ชื่อพ้องAmomum curcumaJacq.,Curcuma dome...

  • กระเจี๊ยบแดง.jpg
    กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรสีแดง รสเปรี้ยวชนิดนี้ นับเป็นหนึ่งในสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในงานสาธารณสุขมูลฐานจึงจัดกระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรประจำบ้านที่ใช้ง่ายและมีค...

  • ใบหม่อน.jpg
    ใบหม่อนชื่อวิทยาศาสตร์Morus albaL..1 ชื่อวงศ์ Moraceae1 ชื่อไทย หม่อน1 ชื่ออื่น ๆ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ2 ชื่อภาษาอังกฤษwhite mulberry, Mulberry tree1ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ล...

  • ว่านห่างจระเข้.jpg
    เกริ่นนำ ว่านหางจระเข้(มักเรียกว่าว่านหางจระเข้) ผลิตสารทั้งสอง เจลและน้ำยางที่ใช้สำหรับยาเสพติดว่านหางจระเข้เจลเป็นสารที่โปร่งใสเช่นเจลาตินที่พบในเยื่อใบพืชว่านหางจระเข้ ว่านหางจร...

  • พรมมิ.jpg
    พรมมิกับฤทธิ์ในการช่วยเพิ่มความจำ พรมมิเป็นสมุนไพรไทยที่หาพบได้ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง ปัจจุบันได้มีการศึกษาค้นคว้าจนพบว่า พรมมิ เป็นสมุนไพรที่สามารถช่วยบำรุงสมอง ป้องโรคความจำเสื่อม อ...

  • ชะพลู.jpg
    ชะพลูเป็นผักพื้นบ้าน คนไทยที่มักนิยมรับประทานสด เช่น การรับประทานทานคู่กับเมี่ยงคำ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพระเทศไทย มีความเชื่อกันอีกว่าใบชะพลูมีสรรพคุณในการแก้พิษหอยได้จึงนิยม...

  • กระเทียม.jpg
    กระเทียมเป็นพืชที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะคล้ายกับหัวหอม คาดว่ากระเทียมมีต้นกำเนิดจากประเทศไซบีเรียเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativumL.1 ชื่อวงศ์ Alliace...

  • Gymnanthemum_extensum.jpg
    ข้อเท็จจริง หนานเฉาเหว่ย เป็นสมุนไพรที่มีรสขมเย็น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าVernonia amygdalinaDelile วงศ์ Asteraceae พบว่ามีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้านทั่วไปทั้งในทวีปแอฟริกา อเมริกา จี...

  • บัวบก.jpg
    เกริ่นนำ บัวบกเป็นที่นิยมใช้ในการแพทย์แผนจีนและโรงงานยาอายุรเวท ใช้ในการทำยาบัวบกใช้ในการรักษาไวรัสแบคทีเรียหรือพยาธิติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโรคงูสวัด โรคเรื้อน อหิว...

  • มะขามป้อม.jpg
    มะขามป้อม(MAKHAM POM) Fructus Phyllanthi Emblicae Emblic Myrobalan มะขามป้อมเป็นผลแก่จัดและแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPhyllanthus emblicaL. ในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่อพ้อง Em...
Visitors: 54,416