กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรสีแดง รสเปรี้ยวชนิดนี้ นับเป็นหนึ่งในสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในงานสาธารณสุขมูลฐานจึงจัดกระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรประจำบ้านที่ใช้ง่ายและมีความปลอดภัยสูง นอกจากสามารถนำไปทำเป็นเครื่องดื่มแก้กระหายได้แล้ว ยังมีการศึกษาวิจัยต่อยอดเพื่อค้นหาฤทธิ์ในการลดความดัน ฤทธิ์ลดไขมันในเลือดอีกด้วย

ชื่อวิทยาศาสตร์
   Hibiscus sabdariffa Linn.1

ชื่อวงศ์           Malvaceae1

ชื่อไทย           กระเจี๊ยบแดง1

ชื่ออื่น ๆ         กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว, ผังเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มพอดี, ส้มตะเลงเครง, ส้มงู1

ชื่อภาษาอังกฤษ Roselle2

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ปีเดียวหรือหลายปี สูง 1-2 ม. ใบเดี่ยว เดรียงสลับ ขอบใบจักฟันเลื่อย มีหูใบ ดอกออกที่ซอกใบ ริ้วประดับ 8-12 กลีบ กลีบเลี้ยงสีม่วง แกมแดง อวบหนา ติดทนจนเป็นผล กลีบดอกสีเหลืองนวลถึงสีชมพูอ่อน ที่กลางดอกสีม่วงแกมแดงเข้ม ผลแห้งแตก รูปไข่ ส่วนปลายมีจะงอย ผิวมีขนสั้นหนานุ่ม เมล็ดจำนวนมาก2 ส่วนที่ใช้ของกระเจี๊ยบแดง ได้จากส่วนกลีบเลี้ยง3

การใช้ประโยชน์ ตำราสรรพคุณยาไทยว่ากระเจี๊ยบ มีรสเปรี้ยว สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ ล้างเมือกมันในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก2 กระเจี๊ยบจัดเป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาอยู่ในรายชื่อคู่มือบัญชียาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในกลุ่มยาพัฒนาจากสมุนไพร ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะ3

ข้อบ่งใช้ ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา

วิธีรับประทาน ชนิดชง รับประทาน ครั้งละ 2 – 3 กรัม ชงน้ำร้อน 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง

ข้อควรระวัง ควรหลีกเลี่ยงการกินกระเจี๊ยบแดงติดต่อกันเป็นเวลานานในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร เนื่องจากผลการศึกษาในหนูทดลอง (rat) พบว่าอาจทำให้ลูกหนูเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้าลง และอาจมีผลทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ของอัณฑะและตัวอสุจิได้ 

งานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับฤทธิ์ลดความดันโลหิตและฤทธิ์ลดไขมันในเลือด ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการศึกษาวิจัยอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีการจดอนุสิทธิบัตรยากระเจี๊ยบแดง สำหรับใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน การรับประทานกระเจี๊ยบแดงในรูปแบบชาชงเป็นระยะเวลา 2 เดือน สามารถลดระดับความดันโลหิตได้ และหากรับประทานติดต่อกัน 4 เดือน ระดับของ triglyceride จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ4 และกระเจี๊ยบแดงสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงในระดับอ่อนถึงปานกลาง5 อีกทั้งการรับประทานกระเจี๊ยบแดงขนาด 1000 มก./วัน ในรูปแบบสารสกัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน สามารถลด LDL-Cholesterol ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่น้อยกว่า simvastatin6 ซึ่งผลการวิจัยนี้มีความสอดคล้องกับผลการวิจัยของต่างประเทศในเรื่องของประสิทธิผลในการลดความดันโลหิต

การรับประทานชาชงกระเจี๊ยบแดงติดต่อเป็นเวลา 2-6 สัปดาห์ ช่วยลดความดันได้ในผู้ป่วย mild hypertension ซึ่งได้ประสิทธิผลดีกว่า Captopril 25 mg/OD และได้ประสิทธิผลเทียบเท่าการรับประทาน Captopril 25 mg วันละ 2 ครั้ง ซึ่งกลไกในการลดความดันโลหิต น่าจะเกิดจากหลายกลไก เช่น การที่ Sodium และ Chloride ถูกขับออกทางไต (แต่ไม่ขับ Potassium ออก จึงควรระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะโพแทสเซียมสูง) หรือการขัดขวางกลไก angiotensin converting enzymes (ACE) หรือ calcium influx7

 

เอกสารอ้างอิง

 

1. กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ประมวลสรรพคุณ

สมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพองคการสงเคราะหทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภกรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๘. 288 หน้า

2. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สมุนไพรและเครื่องยาไทยในยาสามัญประจำบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา จำกัด, ๒๕๕๗. ๕๗๗ หน้า.

3. กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักยา. คู่มือสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ. [สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2561]; ออนไลน์: http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/herbal/list

4. อรุณพร อิฐรัตน์และคณะ. ยากระเจี๊ยบแดงใช้สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน. ประเทศไทย อนุสิทธิบัตรเลขที่ 0903000459

5. เกศนภา ถาวร, ณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์ และ วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบการศึกษาประสิทธิภาพทางคลินิกของกระเจี๊ยบแดง. Thai  Pharm Health Sci J 2006; 1(3):219-225

6. พรรณภัทร อินทฤทธิ์, กัมมาล กุมาร ปาวา, อรุณพร อิฐรัตน์, พินิต ชินสร้อย. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและผลข้างเคียงของสารสกัดกระเจี๊ยบแดงกับ simvastatin ในการลดระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง(การวิจัยทางคลินิกระยะที่สอง). ธรรมศาสตร์เวชสาร 2555; 12(3):506-17

7. Therapeutic Research Center. roselle [Internet]. [cite 2018 May 23]; [Update : 2017 Dec 21]; Available from:  https://naturalmedicines.therapeuticresearch.com/databases/food,-herbs-supplements/professional.aspx?productid=211

8. Herrera-Arellano A, Flores-Romero S, Chavez-Soto MA, Tortoriello J. Effectiveness and tolerability of a standardized extract from Hibiscus sabdariffa in patients with mild to moderate hypertension: a controlled and randomized clinical trial. Phytomedicine. 2004; 11(5):375-382.

9. Nwachukwu DC, Aneke E, Nwachukwu NZ, Obika LF, Nwagha UI, Eze AA. Effect of Hibiscus sabdariffa on blood pressure and electrolyte profile of mild to moderate hypertensive Nigerians: A comparative study with hydrochlorothiazide. Niger J Clin Pract. 2015 Nov-Dec; 18(6):762-70.


  • Noni_fruit_(Morinda_citrifolia).jpg
    ลูกยอ ยอ จัดเป็นพืชให้ผลที่นิยมนำผลหรือใบมาใช้เป็นอาหาร และยาสมุนไพรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมหลายชนิดชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifoliaL.1 ชื่อวง...

  • ฟ้าทะลายโจร.jpg
    เกริ่นนำฟ้าทะลายมีถิ่นกำเนิดในอินเดียศรีลังกาและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้ ใบและลำต้นอยู่ใต้ดินจะใช้เพื่อให้ยา ฟ้าทะลายมักจะถูกใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ (ไข้หวั...

  • ขมิ้นชัน1.jpg
    ขมิ้นชัน(KHAMIN CHAN) Rhizoma Curcumae Longae Turmeric ขมิ้นชันเป็นเหง้าแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCurcuma longaL.ในวงศ์Zingiberaceae ชื่อพ้องAmomum curcumaJacq.,Curcuma dome...

  • มะระขี้นก.jpg
    มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนิยมบริโภคผลและยอดอ่อน มีรสขม พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบอากาศร้อน ในทางโภชนาการเป็นผักที่มีคุณค่าทาง...

  • ใบหม่อน.jpg
    ใบหม่อนชื่อวิทยาศาสตร์Morus albaL..1 ชื่อวงศ์ Moraceae1 ชื่อไทย หม่อน1 ชื่ออื่น ๆ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ2 ชื่อภาษาอังกฤษwhite mulberry, Mulberry tree1ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ล...

  • ว่านห่างจระเข้.jpg
    เกริ่นนำ ว่านหางจระเข้(มักเรียกว่าว่านหางจระเข้) ผลิตสารทั้งสอง เจลและน้ำยางที่ใช้สำหรับยาเสพติดว่านหางจระเข้เจลเป็นสารที่โปร่งใสเช่นเจลาตินที่พบในเยื่อใบพืชว่านหางจระเข้ ว่านหางจร...

  • พรมมิ.jpg
    พรมมิกับฤทธิ์ในการช่วยเพิ่มความจำ พรมมิเป็นสมุนไพรไทยที่หาพบได้ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง ปัจจุบันได้มีการศึกษาค้นคว้าจนพบว่า พรมมิ เป็นสมุนไพรที่สามารถช่วยบำรุงสมอง ป้องโรคความจำเสื่อม อ...

  • ชะพลู.jpg
    ชะพลูเป็นผักพื้นบ้าน คนไทยที่มักนิยมรับประทานสด เช่น การรับประทานทานคู่กับเมี่ยงคำ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพระเทศไทย มีความเชื่อกันอีกว่าใบชะพลูมีสรรพคุณในการแก้พิษหอยได้จึงนิยม...

  • กระเทียม.jpg
    กระเทียมเป็นพืชที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะคล้ายกับหัวหอม คาดว่ากระเทียมมีต้นกำเนิดจากประเทศไซบีเรียเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativumL.1 ชื่อวงศ์ Alliace...

  • Gymnanthemum_extensum.jpg
    ข้อเท็จจริง หนานเฉาเหว่ย เป็นสมุนไพรที่มีรสขมเย็น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าVernonia amygdalinaDelile วงศ์ Asteraceae พบว่ามีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้านทั่วไปทั้งในทวีปแอฟริกา อเมริกา จี...

  • บัวบก.jpg
    เกริ่นนำ บัวบกเป็นที่นิยมใช้ในการแพทย์แผนจีนและโรงงานยาอายุรเวท ใช้ในการทำยาบัวบกใช้ในการรักษาไวรัสแบคทีเรียหรือพยาธิติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโรคงูสวัด โรคเรื้อน อหิว...

  • มะขามป้อม.jpg
    มะขามป้อม(MAKHAM POM) Fructus Phyllanthi Emblicae Emblic Myrobalan มะขามป้อมเป็นผลแก่จัดและแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPhyllanthus emblicaL. ในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่อพ้อง Em...
Visitors: 54,416