ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน  (KHAMIN CHAN)

Rhizoma Curcumae Longae
Turmeric

            ขมิ้นชันเป็นเหง้าแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa L. ในวงศ์ Zingiberaceae

ชื่อพ้อง Amomum curcuma Jacq., Curcuma domestica Valeton, C. rotunda L.

ชื่ออื่น  ขมิ้น, ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว, ขี้มิ้น, หมิ้น, common turmeric, tumeric, yellow root  

ลักษณะพืช  ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้าหลักรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปรี (บางครั้งเรียกเหง้าหลักว่า หัว) แตกแขนงในแนวระนาบ แต่ละแขนงมักแตกย่อยต่อไปได้อีก 1-2 ครั้ง เหง้าแขนงรูปคล้ายทรงกระบอกหรือคล้ายนิ้วมือ ตรงหรือโค้งเล็กน้อย (บางครั้งเรียกเหง้าแขนงว่า แง่ง) เนื้อเหง้าสีส้ม และมีกลิ่นเฉพาะ ลำต้นเหนือดินเป็นลำต้นเทียมที่มีกาบใบเรียงซ้อนอัดแน่นสูงได้ถึง 1 เมตร หรือมากกว่า มีใบ 6-10 ใบต่อต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ กาบใบยาว 40-60 เซนติเมตร รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว 30-70 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบแคบหรือมน ขอบเรียบ ช่อดอก แบบช่อเชิงลด ออกตามปลายต้นหรือระหว่างกาบใบ ก้านช่อดอกโดด ยาว 10-20 เซนติเมตร ช่อดอกรูปทรงกระบอก กว้าง 5-9 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร มีใบประดับจำนวนมาก รูปรีแกมรูปขอบขนาน เรียงเวียนถี่รอบแกนช่อดอก ใบประดับที่อยู่บริเวณโคนช่อดอกสีเขียวอ่อนหรือสีขาวแกมสีเขียว กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 5-6 เซนติเมตร ขอบโคนใบประดับประกบติดกับใบประดับที่อยู่ใกล้เคียงและติดกับแกนช่อดอกเกิดเป็นซอกคล้ายกระเปาะ ใบประดับที่อยู่บริเวณปลายช่อดอกสีขาวแกมสีเขียวอ่อน ปลายมีแถบสีเขียวอ่อน โคนไม่ประกบติดกันเป็นกระเปาะ ดอกออกในซอกกระเปาะใบประดับซอกละ 3-5 ดอก ดอกทยอยบาน กลีบเลี้ยงสีขาวใส โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 0.8-1.2 เซนติเมตร ปลายหยักเป็น 3 ซี่ ไม่เท่ากัน กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร ปลายผายและแยกเป็น 3 แฉก รูปสามเหลี่ยม ยาว 1-1.5 เซนติเมตร แฉกกลางใหญ่กว่า ปลายเป็นติ่ง เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันคล้ายกลีบดอกมี 3 กลีบ กลีบข้างขนาดเล็กกว่ากลีบปาก รูปรีแกมรูปขอบขนาน สีเหลืองอ่อน กลีบปากรูปไข่กลับ ยาว 1.2-2 เซนติเมตร สีเหลืองอ่อน มีแถบสีเหลืองเข้มบริเวณกลางกลีบ เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 1 อัน ก้านสั้นมาก อับเรณูเล็กเรียว มีจงอยโอบรอบก้านชูยอดเกสรเพศเมียที่โคน รังไข่มี 3 ช่อง ผล กลมหรือรี แต่มักไม่ติดผล เมล็ด มีเยื่อหุ้ม

ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์  พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งธรรมชาติในสภาพพืชป่า ปัจจุบันมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนหรือร้อนชื้นทั่วโลก แหล่งที่ปลูกขมิ้นชันเป็นการค้าขนาดใหญ่ของโลกคืออินเดีย มีแหล่งอื่นบ้างแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะเครื่องยา  ขมิ้นชันเป็นเหง้าหลัก (หัว) รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปรี เหง้าแขนง (แง่ง) รูปทรงกระบอก สั้น แตกแขนง ยาว 2-5 เซนติเมตร หนา 1-2 เซนติเมตร ภายนอกสีเหลืองถึงสีน้ำตาลแกมสีเหลือง มีวงรอบตามขวาง ผิวมักมีรอยย่นตามยาว มักมีแขนงเป็นปุ่มเล็ก สั้น หรือมีรอยแผลเป็นรูปวงกลมที่เกิดจากปุ่มนั้นหักหรือหลุดไป เนื้อในสีเหลืองส้มถึงสีส้ม เป็นมัน ด้านตัดขวางมีรอยวงแหวนแยกชั้นสตีลออกจากชั้นคอร์เทกซ์

องค์ประกอบทางเคมี ขมิ้นชันมีน้ำมันระเหยง่ายซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารกลุ่มมอโนเทอร์พีน (monoterpenes) และเซสควิเทอร์พีน (sesquiterpenes) เช่น เทอร์เมอโรน (turmerone), เออาร์-เทอร์เมอโรน (ar-turmerone), ซิงจิเบอรีน (zingiberene), เคอโลน (curlone) มีสารสีเหลืองในกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids) เช่น เคอร์คูมิน (curcumin), เดสเมทอกซิเคอร์คูมิน (desmethoxycurcumin), บิสเดสเมทอกซิเคอร์คูมิน (bisdesmethoxycurcumin)

ข้อบ่งใช้  แก้จุกเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย

ตำรายาสรรพคุณยาไทยว่าขมิ้นชัน มีรสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุ ฟอกโลหิต แก้พิษโลหิตแลลม แก้เสมหะ แก้ไข้ทั้งปวง แก้ผดผื่นคัน แก้โรคผิวหนัง แก้บาดแผลแลทำให้ฟกบวมยุบลง

ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยพรีคลินิกพบว่าขมิ้นชันมีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดการบีบตัวของลำไส้ ต้านฮีสตามีน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ยับยั้งการเป็นพิษต่อตับ ต้านมะเร็ง ขับน้ำดี ใช้ภายนอกรักษาบาดแผล

ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในคนพบว่าขมิ้นชันมีฤทธิ์ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง ลดการอักเสบ รักษาอาการท้องเสีย ลดความเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ในผู้ป่วยธาลัสซิเมีย รักษาสิว

ข้อห้ามใช้  ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีการอุดตันของท่อน้ำดี หรือผู้ที่แพ้ขมิ้นชัน

ข้อควรระวัง  ควรใช้ด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี สตรีระหว่างตั้งครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร หากจะใช้ขมิ้นชันต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

ขนาดและวิธีใช้  ผงขมิ้นชันขนาด 1.5-4 กรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน

หมายเหตุ

  1. มีรายงานการวิจัยว่าขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่มีรายงานว่าการใช้ขมิ้นชันหรือสารเคอร์คูมินในขนาดสูงในสัตว์ทดลองอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
  2. ควรเก็บขมิ้นชันในภาชนะปิดสนิท ป้องกันแสงและความชื้น และให้นำออกมาผึ่งลมให้แห้งทุก 2-3 เดือน

 

เอกสารอ้างอิง

คณะอนุกรรมการจัดทำตำราอ้างอิงยาสมุนไพรไทยในคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. ตำราอ้างอิงยาสมุนไพรไทย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด; 2548


  • Noni_fruit_(Morinda_citrifolia).jpg
    ลูกยอ ยอ จัดเป็นพืชให้ผลที่นิยมนำผลหรือใบมาใช้เป็นอาหาร และยาสมุนไพรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมหลายชนิดชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifoliaL.1 ชื่อวง...

  • ฟ้าทะลายโจร.jpg
    เกริ่นนำฟ้าทะลายมีถิ่นกำเนิดในอินเดียศรีลังกาและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้ ใบและลำต้นอยู่ใต้ดินจะใช้เพื่อให้ยา ฟ้าทะลายมักจะถูกใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ (ไข้หวั...

  • มะระขี้นก.jpg
    มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนิยมบริโภคผลและยอดอ่อน มีรสขม พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบอากาศร้อน ในทางโภชนาการเป็นผักที่มีคุณค่าทาง...

  • กระเจี๊ยบแดง.jpg
    กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรสีแดง รสเปรี้ยวชนิดนี้ นับเป็นหนึ่งในสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในงานสาธารณสุขมูลฐานจึงจัดกระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรประจำบ้านที่ใช้ง่ายและมีค...

  • ใบหม่อน.jpg
    ใบหม่อนชื่อวิทยาศาสตร์Morus albaL..1 ชื่อวงศ์ Moraceae1 ชื่อไทย หม่อน1 ชื่ออื่น ๆ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ2 ชื่อภาษาอังกฤษwhite mulberry, Mulberry tree1ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ล...

  • ว่านห่างจระเข้.jpg
    เกริ่นนำ ว่านหางจระเข้(มักเรียกว่าว่านหางจระเข้) ผลิตสารทั้งสอง เจลและน้ำยางที่ใช้สำหรับยาเสพติดว่านหางจระเข้เจลเป็นสารที่โปร่งใสเช่นเจลาตินที่พบในเยื่อใบพืชว่านหางจระเข้ ว่านหางจร...

  • พรมมิ.jpg
    พรมมิกับฤทธิ์ในการช่วยเพิ่มความจำ พรมมิเป็นสมุนไพรไทยที่หาพบได้ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง ปัจจุบันได้มีการศึกษาค้นคว้าจนพบว่า พรมมิ เป็นสมุนไพรที่สามารถช่วยบำรุงสมอง ป้องโรคความจำเสื่อม อ...

  • ชะพลู.jpg
    ชะพลูเป็นผักพื้นบ้าน คนไทยที่มักนิยมรับประทานสด เช่น การรับประทานทานคู่กับเมี่ยงคำ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพระเทศไทย มีความเชื่อกันอีกว่าใบชะพลูมีสรรพคุณในการแก้พิษหอยได้จึงนิยม...

  • กระเทียม.jpg
    กระเทียมเป็นพืชที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะคล้ายกับหัวหอม คาดว่ากระเทียมมีต้นกำเนิดจากประเทศไซบีเรียเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativumL.1 ชื่อวงศ์ Alliace...

  • Gymnanthemum_extensum.jpg
    ข้อเท็จจริง หนานเฉาเหว่ย เป็นสมุนไพรที่มีรสขมเย็น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าVernonia amygdalinaDelile วงศ์ Asteraceae พบว่ามีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้านทั่วไปทั้งในทวีปแอฟริกา อเมริกา จี...

  • บัวบก.jpg
    เกริ่นนำ บัวบกเป็นที่นิยมใช้ในการแพทย์แผนจีนและโรงงานยาอายุรเวท ใช้ในการทำยาบัวบกใช้ในการรักษาไวรัสแบคทีเรียหรือพยาธิติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโรคงูสวัด โรคเรื้อน อหิว...

  • มะขามป้อม.jpg
    มะขามป้อม(MAKHAM POM) Fructus Phyllanthi Emblicae Emblic Myrobalan มะขามป้อมเป็นผลแก่จัดและแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPhyllanthus emblicaL. ในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่อพ้อง Em...
Visitors: 54,416