ชะพลู (ช้าพลู)

ชะพลูเป็นผักพื้นบ้าน คนไทยที่มักนิยมรับประทานสด เช่น การรับประทานทานคู่กับเมี่ยงคำ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพระเทศไทย มีความเชื่อกันอีกว่าใบชะพลูมีสรรพคุณในการแก้พิษหอยได้จึงนิยมนำมาประกอบอาหารประเภทแกงกะทิ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum Roxb.1
ชื่อวงศ์           Piperaceae1
ชื่อไทย            ช้าพลู1
ชื่ออื่น ๆ          ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง นมวา1
ชื่อภาษาอังกฤษ Wild pepper1

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และพฤกษเคมีที่เกี่ยวข้อง
          ไม้ล้มลุก สูง 30-80 ซม. ลำต้นสีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ มีรากออกตามข้อ ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ดอกช่อ อัดแน่น บนแกนรูปทรงกระบอก ดอกย่อย แยกเพศ สีขาว ขนาดเล็ก ผลมีเนื้อ กลมอัดแน่นอยู่แกน1
รากชะพลูมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบดวย 2,4,5-ไทรเมทอกซี-1-โพรพีนิลเบนซีน (2,4,5-trimethoxy-1-propenylbenzene) ซิส-แครีโอฟลลีน (cis-caryophyllene) 1,2-ไดเมทอกซี-4-(1-โพรพีนิล)-เบนซีน [(1,2-dimethoxy4-(1-propenyl)-benzene] อะซาโรน (asarone) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสารกลุ่มไพร์โรลิดีนเอไมด์ (pyrrolidine amides) กลุมแอโรแมติกแอลคีน (aromatic alkenes) กลุมแอลคาลอยด (alkaloids) เชน ซารเมนทีน (sarmentine) ซารเมนโทซีน (sarmentosine) เพลลิโทรีน (pellitorine) และพิพลารทีน (piplartine) เปนตน4

การใช้ประโยชน์
ตำราสรรพคุณยาไทย กล่าวว่า รากรสร้อนเล็กน้อยแก้ธาตุพิการ แก้ธาตุน้ำพิการ บำรุงธาตุ แก้คูถเสมหะ(คือขับเสมหะให้ตกทางอุจจาระ) ในพิกัดตรีสาร ประจำธาตุน้ำในพิกัดเบญจกูล ต้นแก้เสมหะในทรวงอก ผลขับเสมหะในลำคอ ใบ
ทำให้เสมหะแห้ง1
ชะพลูจัดเป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาอยู่ในรายชื่อคู่มือบัญชียาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นองค์ประกอบในตำรับยาสมุนไพร เช่น ยาเบญจกูล3-4 เป็นต้น

งานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้อง
          งานวิจัยทางด้านเภสัชวิทยาและการทดสอบความเป็นพิษ พบว่า สารสำคัญที่อยู่ในใบชะพลู ซึ่งสารสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เป็นสารจำพวก  phenylpropanoyl amides ชื่อ Chaplupyrrolidone B ซึ่งทำหน้าที่เป็น α-glucosidase inhibitory แบบ Noncompetitive5
การทดลองในระดับหลอดทดลอง (In vitro)  สารสกัดจากใบชะพลูสามารถยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์ Lipase, amylase และ Glucosidase ได้ จึงคาดว่าจะสามารถลดการย่อยและการดูดซึมอาหารประเภทไขมันและคาร์โบไฮเดรตได้6
          การทดลองในระดับสัตว์ทดลอง โดยเหนี่ยวนำให้หนูทดลองเป็นโรคเบาหวานโดยฉีด Streptozotocin ขนาด 40-60 mg/kg เป็นเวลา 28 วัน จากนั้นฉีดสารสกัดใบชะพลูที่สกัดด้วยน้ำ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า สารสกัดสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันภาวะ diabetic nephropathy ได้7
          การทดสอบความเป็นพิษ ทำการทดสอบโดยฉีดสารสกัดใบชะพลูที่สกัดด้วยน้ำขนาด 50 mg/kg, 300 mg/kg และ 2,000mg/kg วันละครั้ง ติดต่อกันเป็น
เวลา 28 วัน พบว่าไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษแต่อย่างใด8  


เอกสารอ้างอิง
1. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สมุนไพรและเครื่องยาไทยในยาสามัญประจำบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: หจก.สามลดา จำกัด, ๒๕๕๗. ๕๗๗ หน้า.
 
2. Disthai.com [Internet]. Thailand: 1.       Disthai; c2017 - [cite 2018 May 25]; Available from: http://www.disthai.com/
 
3. กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักยา. คู่มือสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ. [สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2561]; ออนไลน์:http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/herbal/list
 
4. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือการกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสมุนไพร เพื่อใช้ในทางเภสัชกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพองคการสงเคราะหทหารผานศึก ในพระบรมราชูปถัมภกรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๘. ๓๐๔ หน้า
 
5. Damsud T, Adisakwattana S, Phuwapraisirisan P. Three new phenylpropanoyl amides from the leaves of Piper sarmentosum and their α-glucosidase inhibitory activities. Phytochemistry Letters 6 (2013) 350–354.
 
6. รุ่งฤดี ศรีสวัสดิ์. ผลของสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิดในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส เอนไซม์ไลเปส และเอนไซม์กลูโคซิเดส. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2555
 
7. Hussan F, Zin MMBN, Zullkefli MRB, Choon YS, Abdullah NAB, Lin TS. Piper sarmentosum Water Extract Attenuates Diabetic Complications in Streptozotocin induced Sprague-Dawley Rats. Sains Malaysiana 42(11)(2013): 1605–12.
 
8. Zainudin MM, Zakaria Z, Nordin NAMM, Othman F. Does Oral Ingestion of Piper sarmentosum Cause Toxicity in Experimental Animals?. Evid Based Complement Alternat Med. 2013; 2013: 705-950.
 

  • Noni_fruit_(Morinda_citrifolia).jpg
    ลูกยอ ยอ จัดเป็นพืชให้ผลที่นิยมนำผลหรือใบมาใช้เป็นอาหาร และยาสมุนไพรมาตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมหลายชนิดชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifoliaL.1 ชื่อวง...

  • ฟ้าทะลายโจร.jpg
    เกริ่นนำฟ้าทะลายมีถิ่นกำเนิดในอินเดียศรีลังกาและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้ ใบและลำต้นอยู่ใต้ดินจะใช้เพื่อให้ยา ฟ้าทะลายมักจะถูกใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ (ไข้หวั...

  • ขมิ้นชัน1.jpg
    ขมิ้นชัน(KHAMIN CHAN) Rhizoma Curcumae Longae Turmeric ขมิ้นชันเป็นเหง้าแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCurcuma longaL.ในวงศ์Zingiberaceae ชื่อพ้องAmomum curcumaJacq.,Curcuma dome...

  • มะระขี้นก.jpg
    มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนิยมบริโภคผลและยอดอ่อน มีรสขม พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่ปลูกง่าย ชอบอากาศร้อน ในทางโภชนาการเป็นผักที่มีคุณค่าทาง...

  • กระเจี๊ยบแดง.jpg
    กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรสีแดง รสเปรี้ยวชนิดนี้ นับเป็นหนึ่งในสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในงานสาธารณสุขมูลฐานจึงจัดกระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรประจำบ้านที่ใช้ง่ายและมีค...

  • ใบหม่อน.jpg
    ใบหม่อนชื่อวิทยาศาสตร์Morus albaL..1 ชื่อวงศ์ Moraceae1 ชื่อไทย หม่อน1 ชื่ออื่น ๆ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ2 ชื่อภาษาอังกฤษwhite mulberry, Mulberry tree1ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ล...

  • ว่านห่างจระเข้.jpg
    เกริ่นนำ ว่านหางจระเข้(มักเรียกว่าว่านหางจระเข้) ผลิตสารทั้งสอง เจลและน้ำยางที่ใช้สำหรับยาเสพติดว่านหางจระเข้เจลเป็นสารที่โปร่งใสเช่นเจลาตินที่พบในเยื่อใบพืชว่านหางจระเข้ ว่านหางจร...

  • พรมมิ.jpg
    พรมมิกับฤทธิ์ในการช่วยเพิ่มความจำ พรมมิเป็นสมุนไพรไทยที่หาพบได้ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง ปัจจุบันได้มีการศึกษาค้นคว้าจนพบว่า พรมมิ เป็นสมุนไพรที่สามารถช่วยบำรุงสมอง ป้องโรคความจำเสื่อม อ...

  • กระเทียม.jpg
    กระเทียมเป็นพืชที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะคล้ายกับหัวหอม คาดว่ากระเทียมมีต้นกำเนิดจากประเทศไซบีเรียเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน ชื่อวิทยาศาสตร์Allium sativumL.1 ชื่อวงศ์ Alliace...

  • Gymnanthemum_extensum.jpg
    ข้อเท็จจริง หนานเฉาเหว่ย เป็นสมุนไพรที่มีรสขมเย็น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าVernonia amygdalinaDelile วงศ์ Asteraceae พบว่ามีการใช้ในการแพทย์พื้นบ้านทั่วไปทั้งในทวีปแอฟริกา อเมริกา จี...

  • บัวบก.jpg
    เกริ่นนำ บัวบกเป็นที่นิยมใช้ในการแพทย์แผนจีนและโรงงานยาอายุรเวท ใช้ในการทำยาบัวบกใช้ในการรักษาไวรัสแบคทีเรียหรือพยาธิติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโรคงูสวัด โรคเรื้อน อหิว...

  • มะขามป้อม.jpg
    มะขามป้อม(MAKHAM POM) Fructus Phyllanthi Emblicae Emblic Myrobalan มะขามป้อมเป็นผลแก่จัดและแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าPhyllanthus emblicaL. ในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่อพ้อง Em...
Visitors: 54,418